วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์
ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาล
สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลหินตก
1. ด้านกายภาพ
เทศบาลตำบลหินตกประกอบด้วยชุมชน 13 ชุมชน ประกอบด้วย
1. ชุมชนสามร้อยกล้า
2. ชุมชนราชประชานุสรณ์
3. ชุมชนห้วยสัก
4. ชุมชนปัดโวก
5. ชุมชนเมืองใหม่
6. ชุมชนพุดหง
7. ชุมชนห้วยหาร
8. ชุมชนป่าสงวน
9. ชุมชนไทรสุวรรณ
10. ชุมชนห้วยโหยง
11. ชุนชนวัดถ้ำเขาแดง
12. ชุมชนตลาดเก่า
13. ชุมชนตลาดใหม่

      ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ประชากรรวมตัวกันอยู่อย่างหนาแน่นและมีศักยภาพต่อการพัฒนา เป็นชุมชนเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชได้พิจารณาเห็นว่าควรให้ชุมชนดังกล่าวได้ปกครองตนเองในรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้ดำเนินการขอจัดตั้งส่วนหนึ่งของตำบลหินตกขึ้นเป็นสุขาภิบาลหินตก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 110 ตอนที่ 116 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2536 และยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลหินตกเมื่อ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542
      1. ที่ตั้งและอาณาเขต ที่ตั้ง เทศบาลตำบลหินตก ตั้งอยู่ในตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอำเภอร่อนพิบูลย์ ห่างจากอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร และตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอทุ่งสงประมาณ 30 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403
       - ด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลหินตกกับตำบลเสาธง ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ต่อเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช - ต่อเขตเทศบาลกันตังควบคุม ตามแนวขนาบ ระยะ 1,000 เมตร เป็นเส้นเลียบแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลหินตกกับตำบลเสาธงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงเขตหลักที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลหินตก กับตำบลเสาธง ตรงจุดที่ห้วยไทรสุวรรณตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ต่อเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช ควบคุม –ต่อเขตเทศบาลกันตังควบคุม ฟากตะวันตก

      จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นเลียบเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลหินตก กับตำบลเสาธง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ติดเขตเทศบาลนครศรีธรรมราชควบคุม - ต่อเขตเทศบาลกันตังควบคุมฟากตะวันตก

      จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นเลียบเส้นแบ่งเขตตำบลหินตก กับตำบลเสาธงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลหินตกกับตำบลเสาธง ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ต่อเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช ควบคุม – ต่อเขตเทศบาลกันตังควบคุมตามแนวเส้นขนาน ระยะ 1,000 เมตร

      - ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นขนาน กับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ต่อเขตเทศบาลนครศรีธรรมราชควบคุม – ต่อเขต เทศบาลกันตังควบคุม ระยะ 1,000 เมตรไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลหินตกกับตำบลร่อนพิบูลย์

      - ด้านใต้ จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นเลียบเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลหินตก กับตำบลร่อนพิบูลย์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลหินตกกับตำบลร่อนพิบูลย์ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ต่อเขตเทศบาลนครศรีธรรมราชควบคุม-ต่อเขตเทศบาลกันตังควบคุม ตามแนวขนาบ ระยะ 300 เมตร

      จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านคูหา ฟากเหนือ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางถนนไปวัดคีรีรัตนาราม ฟากตะวันตก ตามแนวเส้นขนานระยะ 200 เมตร

      - ด้านตะวันตก หลักเขตที่ 7 เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางถนนไปวัดคีรีรัตนาราม ระยะ 200 เมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยหาร ฝั่งเหนือ

      จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นเลียบริมห้วยหาร ฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยหาร ฝั่งเหนือ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ต่อเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช – ต่อเขตเทศบาลกันตังควบคุม ตามแนวขนาบ ระยะ 1,000 เมตร

      หลักเขตที่ 9 เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 403 ต่อเขตเทศบาลนครศรีธรรมราชควบคุม – ต่อเขตเทศบาลกันตังควบคุม ตามแนวขนาบ ระยะ 1,000 เมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บรรจบกับหลักเขตที่ 1

---ไม่มีข้อมูล---

วิสัยทัศน์

"พัฒนาคุณภาพคนด้วยการยกระดับการศึกษา รักษาสิ่งแวดล้อม พรั่งพร้อมคุณภาพชีวิต เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ เป็นเมืองแห่งความสุข"

วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาล

      สภาพการพัฒนาที่เทศบาลหินตก ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะและสภาพการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นในอนาคต ผู้บริหารได้กำหนดวิสัยทัศน์ดังนี้

      การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหาร วัตถุประสงค์การกระจาย อำนาจ รัฐบาลส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเสมือนโรงเรียนสอน ประชาธิปไตย ให้กับประชาชนในท้องถิ่น อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีเจตนาที่จะให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเมือง การบริหาร ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นทั้งในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้เลือกตั้ง และในฐานะผู้ตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารเทศบาล

      การบริหารการจัดการที่ดี (Good Governance) การบริหารจัดการที่ดีตามหลัก ธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นการบริหารการปกครอง ที่โปร่งใสด้วยจริยธรรม ซึ่งหลักธรรมาภิบาล คือการบริหารที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงาน เกิดความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และเพื่อเป็นหลักประกันว่า การดำเนินงานทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ เป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนรวม และประชาชนมั่นใจได้ว่า หน่วยงานของรัฐ ได้มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม

      การส่งเสริมให้เทศบาลหินตกเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจ เทศบาลมีหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งในฐานะหน่วยส่งเสริม เทศบาล จะทำหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริหารการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อประโยชน์ต่อการ พัฒนา ในฐานะหน่วยการผลิตเทศบาลเป็นผู้ลงทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยตรง เช่น กิจการตลาดสด และอาคารพาณิชย์ เป็นต้น

      การส่งเสริมให้เทศบาลหินตก เป็นศูนย์กลางพัฒนาคน ปัจจุบันการพัฒนา ได้ให้ความ สำคัญกับการพัฒนาคนอย่างมาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปัจจุบันได้กำหนดให้ คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เพราะคนเป็นทั้งผู้ดำเนินการพัฒนา และขณะเดียวกัน คนก็เป็นผู้ทีได้รับผลการพัฒนา เทศบาลซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ พัฒนาทั้งเด็กและเยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ดังนั้น จึงให้คนในเขตเทศบาล มีคุณภาพ เทศบาลต้องพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้เทศบาลเป็นศูนย์กลางการพัฒนาคนในเขตเมือง ได้อย่างแท้จริง

      การส่งเสริมให้เทศบาลตำบลหินตก เป็นเมืองน่าอยู่ จะต้องพัฒนาให้เทศบาล มีความพร้อมทุกด้าน อันสอดคล้องกับการพัฒนาให้เทศบาลเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาคน การเป็นเมืองน่าอยู่ มีองค์ประกอบดังนี้

1. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ดี
2. การพัฒนาสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมเพียงพอ การผังเมืองที่ดี
3. การจัดการศึกษาส่งเสริมอาชีพ

พันธกิจ

1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
2. พัฒนาศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง และสามารถพึ่งตนเองได้
3. สร้างระบบบริหารการจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผน การตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหาร และการปกครอง
4. ปรับปรุงพัฒนาการศึกษา และสาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสิ่งแวดล้อม ให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน